วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ภาคเหนือ

ประวัติศาสตร์-ความเป็นมา

ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิว เขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของประเทศคือ ยอดดอยผ้าห่มปก อยู่ในอำเภอแม่อาย และยอดดอยหลวงเชียงดาวสูงเป็นอันดับ 3 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และยังมีทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทิวเขานี้อยู่ระหว่างแม่น้ำ วังกับแม่น้ำยม ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับลาว ทิวเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อยมากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ ส่วนพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด
ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยม จนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี
เมื่อพญามังราย กษัตริย์ผู้ครองเมืองหิรัญนครเงินยาง ซึ่งถือได้ว่า เป็นปฐมกษัตริย์ของ อาณาจักรล้านนา ได้ทำการ รวบรวมหัวเมืองต่างๆที่กระจายอยู่และไม่ขึ้นแก่กัน และยกทัพไปตีเมืองต่างๆ ที่อยู่ในแคว้นโยนก เพื่อรวบรวม เข้าไว้เป็นอาณาจักรเดียวกัน ในปีพ.ศ.1805 ได้ทรงสร้างเมืองเชียงราย หลังจากนั้นได้ยกทัพไปตีเมืองต่างๆรวมทั้งแคว้นหริภุญไชย ซึ่งอยู่ในเขตราบลุ่มแม่น้ำปิง ในปีพ.ศ.1812 ยึดเมืองเชียงของได้ ปีพ.ศ.1819 ยกทัพไปตีเมืองพะเยาซึ่งในขณะนั้นพญางำเมืองครอบครองอยู่ แต่ไม่มีการรบเกิดขึ้นและเป็นมิตรไมตรีต่อกัน จึงทำให้แคว้นพะเยาเป็นอิสระ ในปีพ.ศ.1824 สามารถยึดเมืองหริภุญไชยได้ และทรงประทับอยู่ที่เมืองหริภุญไชยเป็นเวลา 2 ปี จึงได้ย้ายมาสร้างเวียงใหม่ขึ้นเป็นที่ประทับ ในปีพ.ศ.1829 ชื่อ เวียงกุมกาม
เวียงกุมกามเป็นเวียงที่พญามังรายสร้างขึ้น ในบริเวณชุมชนโบราณสมัยหริภุญไชยตามประวัติ ก่อนหน้าการสร้างเวียงกุมกาม พญามังราย ทรงยกทัพจากเมืองฝางมายึดครองเมืองหริภุญ ไชย พระองค์ประทับที่หริภุญไชยอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก็มอบให้อ้ายฟ้าครองหริภุญไชยส่วน พระองค์แสวงหาที่สร้างเวียงใหม่ และทรงเลือกหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่อยู่ริมแม่น้ำปิง "ปิงห่าง" มา สร้างเป็นเวียงกุมกาม มูลเหตุกำหนดเวียงกุมกาม เวียงกุมกามกำหนดขึ้น เพราะพญามังราย ทรงประสงค์จะสร้างเมืองหลวงแห่งใหม่แทนที่เมืองหริภุญไชย หลังจากที่พญามังรายยึด ครองเมืองหริภุญไชยสำเร็จในราว พ.ศ. 1835 พระองค์ประทับที่หริภุญไชยเพียง 2 ปี ก็แสดงความไม่พอใจจะใช้เมืองหริภุญไชยเป็นเมืองหลวงอีกต่อไปแม้ว่าเมืองหริภุญไชยจะเป็น ศูนย์กลางทางการเมือง การค้า ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นเวลาช้านาน ความไม่พอใจในเมือง หริภุญไชย คงเป็นเพราะข้อบกพร่องของตัวเวียง ที่สร้างมาประมาณ 500 ปี เวียงมีขนาดเล็ก และคับแคบไม่สามารถขยายตัวเวียงได้เป็นไปได้ว่าคงเต็มไปด้วยวัสดุและสิ่งก่อสร้างต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับรัฐที่อาณาเขตกว้างขวางขึ้นพญามังรายจึงหาสถานที่สร้างเมืองหลวง ขึ้นใหม่โดยให้เมืองหริภุญไชยมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนา ขณะที่เมืองหลวงแห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการเมือง
จากการเลือกสถานที่สร้างเมืองหลวง ทั้งกุมกามและเชียงใหม่ พญามังรายจะเลือกสร้างในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยไม่กลับไปสร้างเมืองหลวงในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำที่กกซึ่งอยู่ทางตอนบน พญามังรายไม่เสด็จกลับไปประทับอีกเลย ทั้งนี้คงเพราะเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน มีทำเลที่ตั้ง เหมาะสมต่อการเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา มากกว่าเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำกก เขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูนเป็นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำที่มีที่ราบติดต่อกันไปเป็นผืน ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ จะสามารถปลูกข้าวได้อย่างกว้างขวาง และยังสามารถทำการค้ากับ เมืองทางตอนใต้ได้อย่างสะดวก นอกจากนั้นตำแหน่งที่ตั้งเมืองหลวงก็จะอยู่เหนือเมืองหริภุญไชยขึ้นมา ตำแหน่งของเมืองกุมกามและเชียงใหม่ ซึ่งสะท้อนความคิดของพญามังราย ที่ไม่ขยายอำนาจลงทางใต้อีกต่อไป และทรงพอใจในเขตแอ่งที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน โดยเฉพาะตรงบริเวณเหนือเมืองหริภุญไชย เนื่องจากที่ตั้งของเวียงมีความสำคัญมาก จะต้องอาศัยสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของสังคมเมืองขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่ตั้งเวียงที่มีฐานะเป็นเมืองหลวง ย่อมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมการเลือกที่ตั้ง
ในขณะที่พญามังรายกำลังเรืองอำนาจอยู่นั้น ก็เป็นช่วงที่ อาณาจักรสุโขทัยซึ่งปกครองโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช กำลังเรืองอำนาจอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีการสู้รบกัน เนื่องจาก พญามังราย พ่อขุนรามคำแหง และพญางำเมือง เป็นพระสหายร่วมน้ำสาบานต่อกัน ในปีพ.ศ.1839 ได้ทรงคิดจะสร้างเมืองแห่งใหม่ขึ้น จึงได้อัญเชิญ พระสหายร่วมน้ำสาบาน มาเลือกทำเล ณ บริเวณ ที่ราบลุ่มเชิงดอยสุเทพ และทรงตั้งชื่อว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ พ่อขุนรามคำแหงทรงมีพระราชปรารภว่า เมืองนี้ข้าศึกจะเบียดเบียนทำร้ายมิได้ คนใหนมีเงินพันมาอยู่เมืองนี้จะมีเงินหมื่น ครั้นมีเงินหมื่นมาอยู่จะมีเงินแสน ส่วนพญางำเมือง ได้ถวายความเห็นว่า เขตเมืองนี้ดีจริง เพราะว่าเนื้อดินมีพรรณรังษี 5 ประการ มีชัย 7 ประการ เมืองนี้มีสิทธินักแล ส่วนกำแพงเมืองที่สร้างขึ้น กว้างด้านละ 800ว า ยาวด้านละ1000วา และถือได้ว่า เมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนาหลังจากสร้างเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นานพยาเบิก ผู้ครองนครเขลางค์ซึ่งเป็นราชบุตรของอดีตผู้ครองแคว้นหริภุญไชย ได้ยกทัพมาเพื่อจะชิงเมืองหริภุญไชยคืน แต่กองทัพเมืองเชียงใหม่รบชนะ และต่อมาสามารถยึดเมืองเขลางค์ ให้ขึ้นตรงต่อเมืองเชียงใหม่ ซึ่งนับเป็นการขยายดินแดนและรวมเอาบ้านเมืองในเขตลุ่มแม่น้ำวังเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา
ระยะแรกเมืองเชียงใหม่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาอย่างแท้จริง หลังจากที่พระเจ้ามังรายสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงใหม่ พระเจ้าชัยสงครามราชโอรส ได้ครองราชย์สืบมา และประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่เพียงยงสี่เดือน ก็เสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย ส่วนเมืองเชียงใหม่ทรงมอบให้พระเจ้าแสนภู ราชโอรส ปกครองแทน เมื่อพระเจ้าชัยสงครามสิ้นพระชนม์ที่เมืองเชียงราย พระเจ้าแสนภูได้ขึ้นครอง ราชสมบัติแทน พระเจ้าแสนภูทรงแต่งตั้งให้พระเจ้าคำฟู ราชโอรส ครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จกลับไปประทับที่เมืองเชียงราย และต่อมาทรงสร้างเมืองเชียงแสนขึ้นในบริเวณที่เชื่อว่าเป็นเมืองหิรัญนครเงินยางเดิม เมื่อสร้างเมืองเชียงแสนแล้วศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนาได้เลื่อนมาอยู่ที่เมืองเชียงแสนแทน หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภู ได้เสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนตลอดพระชนม์ชีพ นับแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองเชียงแสนได้กลายเป็นเมืองสำคัญที่มีความเจริญทั้งในทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม
เมื่อพระเจ้าแสนภูสิ้นพระชนม์ พระเจ้าคำฟูได้ขึ้นครองราชย์ พระเจ้าคำฟูทรงมอบให้ พระเจ้าผายูราชโอรสครองเมืองเชียงใหม่ ส่วนพระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนและได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับเมืองน่าน ยกทัพไปตีเมืองพะเยาและสามารถรวมแคว้นพะเยาเข้ามาเป็นส่วหนึ่งของล้านนาได้ เมือพระเจ้าคำฟูสิ้นพระชนม์ พระเจ้าผายูได้สืบราชสมบัติแทน แต่ไม่ได้เสด็จไปประทับอยู่เมืองเชียงแสน คงประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ดังนั้น เมืองเชียงใหม่จึงได้มีความสำคัญกลายเป็นศูนย์กลาง ของราชอาณาจักรอีกครั้งและนับตั้งแต่นี้เป็นต้นไปเมืองเชียงใหม่ได้กลายเป็นราชธานี ของอาณาจักรล้านนาอย่างแท้จริง และกษัตริย์ล้านนาในลำดับต่อๆมา จะประทับอยู่ที่เมืองเชียงใหม่แทบทุกพระองค์
สมัยพระเจ้ากือนา ขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ. 1898 พระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ ได้เข้ามาสู่ดินแดนล้านนา เนื่องจากพระเจ้ากือนา ได้อาราธนาพระสุมนเถระจากเมืองสุโขทัย มาเผยแพร่ พระศาสนาในเมืองเชียงใหม่ และดินแดนล้านนา พระสุมนเถระนั้นถือได้ว่ามีบทบาทอย่างสำคัญในการวางรากฐานพระพุทธศาสนา แบบลังกาวงศ์ในล้านนา การเข้ามาของพระพุทธศาสนา จากแค้วนสุโขทัยทำให้มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างล้านนากับสุโขทัย
เมื่อสิ้นพระเจ้ากือนากษัตริย์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าแสนเมืองมา ราชบุตร ของพระเจ้ากือนา ครองราชย์อยู่ในระหว่าง พ.ศ. 1928-1944 เมือขึ้นครองราชย์มีอายุเพียง 14 พรรษา ในเวลานั้นเจ้ามหาพรหมเจ้าเมืองเชียงราย ซึ่งเป็นพระมาตุลาของพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ยกกองทัพมาเมืองเชียงใหม่เพื่อแย่งชิงราชสมบัติ แต่ถูกกองทัพเมืองเชียงใหม่ตีพ่ายไป เจ้ามหาพรหมเสด็จไปขอความช่วยเหลือจาก สมเด็จพระบรมราชาที่1 แห่งกรุงศรีอยุธยา
ใน พ.ศ. 1929 กรุงศรีอยุธยาจึงได้ยกกองทัพ มาตีเมืองเขลางค์นครแต่ถูกตีพ่ายกลับไป ไม่นานเจ้ามหาพรหม มาขอพระราชทานอภัยโทษและ ได้อันเชิญพระพุทธสิหิงค์ จากเมืองกำแพงเพชรมาถวายพระเจ้าแสนเมืองมาด้วย ซึ่งก็โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ วัดลีเชียงพระ หรือวัดพระสิงห์ในปัจจุบัน ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมา ได้ยกกองทัพไปตีเมืองสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการศึกในครั้งนี้จะเป็นชนวนให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ในเวลาต่อมา
เมื่อถึงสมัยพระเจ้าสามฝั่งแกนราชโอรสของพระเจ้าแสนเมืองมา ครองราชย์ ระหว่าง พ.ศ. 1945-1984 เป็นช่วงเวลาที่มีศึกสงครามทั้งทางเหนือและใต้ ท้าวยี่กุมกาม เจ้าเมืองเชียงรายซึ่งเป็นพระเชษฐาของ พระเจ้าสามฝั่งแกนไม่พอใจที่ไม่ได้ขึ้นครองราชย์ จึงขอกองทัพจากสุโขทัยไปช่วยรบแย่งชิงเมืองเชียงใหม่ แต่กองทัพสุโขทัยพ่ายแพ้กลับไป เหตุการณ์สำคัญประการหนึ่งในรัชสมัยของพระเจ้าสามฝั่งแกน คือ การเข้ามาของพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์สายใหม่หรือสายสิงหล ทำให้ดินแดนล้านนามีพระพุทธศาสนา 3 คณะคือ คณะพื้นเมืองเดิมจากเมืองหริภุญไชย คณะรามัญหรือลังกาวงศ์สายเก่า และคณะสิงหลหรือลังกาวงศ์สายใหม่
พ.ศ. 1984 เจ้าชายลก โอรสองค์ที่ 6 ของพระเจ้าสามฝั่งแกน ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าสามฝั่งแกน มีพระนามว่า พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช หรือ สิริธรรมจักวรรดิติโลกราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ พระองค์ทรงสามารถขยายอาณาเขตออกไปได้อย่างกว้างขวาง ทางทิศใต้และทิศตะวันออก สามารถยึดเมืองน่านและเมืองแพร่ได้ ด้านทิศตะวันตกขยายไปจนถึงรัฐชาน หรือ ไทใหญ่ ได้ เมืองไลคา เมืองนาย เมืองสีป้อ เป็นต้น ด้านเหนือได้เมืองเชียงรุ้ง การที่ได้ เมืองแพร่ เมืองน่าน ถือได้ว่าเป็นการรวบรวม อาณาจักรล้านนาให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนปรากฏถึงทุกวันนี้ และใช้เวลาในการรวมดินแดนล้านนาถึง 150ปีเศษ และการที่ได้เมืองแพร่ เมืองน่านนี้ นอกจากจะได้แหล่งเกลือที่มีค่าแล้วยังได้ช่องทางใหม่ที่จะลงไปทางใต้อีกสองช่องทางคือทางลำน้ำยม และลำน้ำน่าน ทำให้เกิดการแย่งเมืองสุโขทัย ขึ้นกับพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยา และได้ทำสงครามระหว่างล้านนากับกรุงศรีอยุธยา ในครั้งนั้นทำให้ ล้านนา อ่อนกำลังลงมากเนื่องจากเสียรี้พลในการทำศึกสงคราม สาเหตุนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ พม่ายึดครอง ล้านนา ได้ในเวลาต่อมา ในสมัยพระเจ้าติโลกราช พุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทำการ สังคายนาพระไตรปิฎกครั้งสำคัญเป็นครั้งที่ 8 ของโลก ณ วัดโพธารามมหาวิหาร หรือวัดเจ็ดยอด ทรงสร้างวัดและ ปูชนียสถาน หลายแห่ง เช่นองค์พระเจดีย์หลวง วัดป่าแดงหลวง วัดโพธารามมหาวิหาร
พระเจ้ายอดเชียงราย พระราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช ได้ครองราชย์ ต่อจากพระเจ้าติโลกราช ในระหว่าง พ.ศ. 2030 – 2038 ต่อมาได้ถูกบรรดาขุนนางปลดออกด้วยข้ออ้างที่ว่า ไม่ได้ทำความเจริญให้แก่บ้านเมือง และได้อภิเษก พระเจ้าเมืองแก้ว ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
ในสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2038 – 2064 ถือได้ว่า เป็นยุครุ่งเรือง สูงสุดของอาณาจักรล้านนา อย่างแท้จริง ถึงแม้ว่า จะมีการทำศึกสงครามกับกรุงศรีอยุธยาอยู่บ้าง โดยลงไปตีเมืองสุโขทัย และบางครั้งได้เลยไปตีถึงเมืองกำแพงเพชร และเชลียง

ในช่วง พ.ศ. 2050 และในช่วง พ.ศ. 2058 สมเด็จพระรามาธิบดีที่2 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาตีเขลางค์นครจนแตก แต่ไม่สามารถ ยึดครองได้ จนในที่สุดได้มีการทำสัญญาไมตรีต่อกัน เมื่อ พ.ศ. 2065 ถึงแม้ว่าอาณาจักรล้านนา จะเจริญสูงสุดในสมัยพระเจ้าเมืองแก้วนี้ แต่ในตอนปลายรัชสมัยพระเจ้าเมืองแก้ว ได้ยกทัพไปตีเมืองเชียงตุง แต่พ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้สูญเสียกำลังพลเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผลกระทบต่อความเข้มแข็งของอาณาจักรล้านนา ในเวลาต่อมา
หลังจากสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้วแล้ว บ้านเมืองเริ่มแตกแยก เกิดการแก่งแย่งชิงสมบัติกันบ่อยครั้ง อำนาจการปกครอง ได้ตกไปอยู่กับบรรดาขุนนาง เสนา อำมาตย์ ซึ่งสามารถที่จะแต่งตั้งหรือถอดถอนกษัตริย์ได้ พระเจ้าเมืองเกษเกล้าพระอนุชาของพระเจ้าเมืองแก้วขึ้นครองราชย์ได้ 13 ปีถูกเจ้าท้าวทรายคำราชบุตร และเสนาอำมาตย์แย่งชิงราชสมบัติ และเนรเทศพระเจ้าเมืองเกษเกล้าไปไว้ ณ เมืองน้อย ท้าวซายคำจึงได้ขึ้นครองราชย์แทน เมื่อท้าวซายคำชึ้นครองราชย์ได้ประพฤติผิดราชประเพณีจึงถูกบรรดาขุนนางอำมาตย์ ตั้งตัวเป็นขบถและทำการปลงพระชนม์แล้วอันเชิญ พระเจ้าเมืองเกษเกล้าขึ้นครองราชย์ดังเดิม แต่ครองราชย์ได้ไม่นาน ก็ได้ถูกบรรดาขุนนางคิดจะลอบปลงพระชนม์ เนื่องจากพระเจ้าเมืองเกษเกล้า ทรงเสียพระสติ ช่วงนี้จึงเกิดการแก่งแย่งชิงดีกันขึ้น บ้านเมืองเกิดการแตกแยก มีการทำสงครามภายในกันขึ้น
ในช่วงนี้ พระนางจิรประภา ได้ขึ้นครองเมืองชั่วคราว ในขณะที่พระนางจิรประภา ครองราชย์อยู่ในขณะนั้น กรุงศรีอยุธยาได้ยกกองทัพเพื่อที่จะมายึดเมืองเชียงใหม่ และได้ล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้ แต่พระนางจิรประภาไม่คิดที่จะตอบโต้จึงยอมส่งเครื่องราชบรรณาการให้กรุงศรีอยุธยา กรุงศรีอยุธยาจึงยอมยกทัพกลับ หลังจากนั้น พระนางจิรประภาได้สละราชสมบัติ และให้พระไชยเชษฐาขึ้นครองราชย์แทน แต่ก็ครองราชย์ได้เพียง 2 ปี ก็ทรงเสด็จกลับ ไปยังแคว้นล้านช้าง เนื่องจากพระเจ้าโพธิสารพระราชบิดา สิ้นพระชนม์อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง บรรดาขุนนางได้ ส่วนบรรดาขุนนางได้อัญเชิญพระเจ้าเมกุฏิแห่งเมืองนายซึ่งมีเชื้อสาย ของขุนเครือราชบุตรของพระเจ้ามังราย ขึ้นครองราชย์ ในขณะที่พระเจ้าเมกุฏิ ขึ้นครองราชย์ เป็นช่วงที่ ทางพม่าโดยพระเจ้าบุเรงนองต้องการขยายอำนาจ ได้ยกทัพ มาล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้และใช้เวลาเพียงสามวันก็สามารถ ยึดเมืองเชียงใหม่ได้อย่างง่ายดายในปี พ.ศ. 2101 อาณาจักรล้านนาจึงตกไปอยู่ในฐานะ เมืองขึ้นของพม่า แต่ว่าทางพม่าก็ยังให้พระเจ้าเมกุฏิปกครองเมืองเชียงใหม่ต่อไป
หลังจากที่พม่าได้เข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่โดยตรง แต่ยังคงให้พระเจ้าเมกุฎิ ทำการปกครองบ้านเมืองตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้กับทางพม่า ต่อมาพระเจ้าเมกุฎิคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้งพระนางราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี เชื้อสาย ราชวงค์ มังราย องค์สุดท้าย ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่และเพื่อควบคุมการส่งส่วย กลับไปพม่า อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์กำลังคนและเตรียมเสบียงอาหารเพื่อทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา
เชียงใหม่ในฐานะเมืองขึ้นของพม่าไม่ได้สงบสุขเหมือนสมัยก่อน มีการกบฎแย่งชิงอำนาจกัน อยู่ตลอดเวลารวมทั้งมีการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างเจ้าเมืองตามหัวเมืองต่างๆ ก่อนที่ทางพม่าจะเข้ามายึดเมืองเชียงใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2306 และได้ใช้ล้านนาเป็นฐานสำคัญในการยกกองทัพเข้าตีกรุงศีรอยุธยา และช่วงเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่ทางกรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงครั้งที่ 2 ให้กับพม่า รวมระยะเวลาที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเป็นเวลาถึง 200 กว่าปี
การกอบกู้ล้านนา เกิดขึ้นเมื่อพระยาจ่าบ้าน บุญมา กับพระยากาวิละ เชื้อสายตระกูลเจ้าเจ็ดตน ได้ร่วมมือกันกอบกู้เอกราชโดยได้ไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี และได้ขอให้ส่งกองกำลังมาตีพม่าที่มายึดล้านนา โดยพระเจ้ากรุงธนบุรี เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้นำกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ และยึดได้ในปี พ.ศ. 2317 และแต่งตั้ง ให้พระยาจ่าบ้านขึ้นเป็นพระยาวชิรปราการ เจ้าเมืองเชียงใหม่ และให้พระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองนครลำปาง หลังจากที่ยึดเมืองเชียงใหม่ได้แล้วก็ยังมีการสู้รบกัน เรื่อยมา ทั้งจากพม่าและหัวเมืองต่างๆ เช่น เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย
ในปี พ.ศ. 2347 พระยากาวิละได้เข้าตีเมืองเชียงแสน และเมืองเชียงราย และได้ กวาดต้อนพลเมือง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย และหัวเมืองต่างๆมาไว้ตามเมืองสำคัญเช่น เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ น่าน ส่วนหนึ่ง ก็ส่งไปกรุงเทพ การกอบกู้ อาณาจักรล้านนา ครั้งนี้ อาณาจักรล้านนายังไม่ได้เป็นเอกราชอย่างแท้จริง เพราะล้านนายังอยู่ในฐานะประเทศราชของแผ่นดินสยาม เมื่อพระยาจ่าบ้านเสียชีวิตลง พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดเกล้าให้พระยากาวิละเจ้าเมืองนครลำปางเป็น พระยาวชิรปราการเจ้าเมืองนครเชียงใหม่แทน เมื่อพระยากาวิละเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แล้ว ก็แบ่งไพร่พลจาก เมืองนครลำปาง ไปตั้งอยู่ที่ เวียงป่าซางเป็นเวลาถึง 14 ปี เพื่อรวบรวมไพร่พล จนถึง พ.ศ. 2339 จึงสามารถเข้าไปอยู่ในเมืองเชียงใหม่ได้ และเริ่มสะสมกำลังพล เข้าตีเมืองต่างๆ เมื่อเข้าตีได้แล้วก็ได้ทำการกวาดต้อนพลเมืองจากเมืองต่างๆซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่มชนหลายเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ เช่น เงี้ยว ไตลื้อ ไตยอง ไตเขิน ข่า ลัวะ ยาง ให้เข้ามาเป็นพลเมืองล้านนา ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จึงได้ชื่อว่า ยุคเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองซึ่งไพร่พลพลเมืองเหล่านี้ ได้เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยในการบูรณะบ้านเมืองต่างๆ โดยเฉพาะเมืองเชียงใหม่ให้กลับคืนมา
หลังจากล้านนาจากได้รับการฟื้นฟูโดยพระยากาวิละ แต่ยังคงมีฐานะเป็นประเทศราช ของกรุงเทพและมีเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ปกครอง โดยเจ้าผู้ครองนครจะมีอิสระในการปกครองเมือง แต่ต้องทำหน้าที่ในฐานะประเทศราช นอกจากการส่งเครื่องราชบรรณาการและส่วยแล้ว เมื่อมีงานพระราชพิธีจะมีการเกณฑ์สิ่งของเพื่อมาใช้ในงานพระราชพิธี หรือการก่อสร้างพระราชวังและวัด สิ่งของที่ถูกเกณฑ์มาก็จะมีไม้สัก ผ้าขาว น้ำรัก
ในยามที่มีศึกสงคราม จะต้องมีการเกณฑ์ไพร่พล ลงมาช่วยโดยด่วน กองทัพเมืองเชียงใหม่เคยถูกเกณฑ์ไปช่วยรบหลายครั้งเช่นเมื่อครั้งกบฏเจ้าอนุวงศ์
การรวมล้านนาเข้ากับอาณาจักรสยาม

ในปี พ.ศ. 2369 ประเทศอังกฤษได้ทำสงครามกับประเทศพม่า และได้ดินแดนหัวเมืองมอญ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับล้านนา จึงมีชาวอังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับล้านนา และทำธุรกิจป่าไม้ในล้านนา ซึ่งในช่วงแรกๆนั้นยังไม่มีปัญหากันมากนัก เมื่ออังกฤษได้ดินแดนพม่าทางตอนล่าง อิทธิพลของอังกฤษก็ขยายมาใกล้ชิดกับล้านนามากขึ้น ก็มีชาวพม่าซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษเข้ามาทำป่าไม้ในล้านนามากขึ้น จึงเกิดมีปัญหาขัดแย้งกับเจ้าเมืองผู้ให้สัมปทานป่าไม้ในท้องถิ่น กับคนในบังคับของอังกฤษมากขึ้น อังกฤษจึงเรียกร้องให้รัฐบาลกลางที่กรุงเทพ เข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
ในปี พ.ศ. 2416 ทางกรุงเทพจึงได้ส่งพระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์) ไปเป็นข้าหลวงสามหัวเมืองประจำที่เชียงใหม่ เพื่อควบคุมดูแลปัญหาในเมืองเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ขณะนั้นเหล่าหัวเมืองขึ้นของพม่าต่างเป็นอิสระ ได้ยกกำลังเข้าโจมตีหัวเมืองชายแดนล้านนา ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นเกินกำลังที่เชียงใหม่จะจัดการได้ และในขณะนั้นสถานการณ์ภายในเมืองเชียงใหม่ก็มีปัญหา เนื่องจากพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ไม่มีความเข้มแข็งในการปกครอง เจ้านายชั้นสูงจึงแย่งชิงอำนาจกัน ทำให้เป็นโอกาสดีของกรุงเทพฯ ที่จะเข้ามาปฏิรูปการปกครอง
ระหว่างการปฏิรูปการปกครอง ในช่วงก่อนจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ.2427-2442) ตรงกับสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ. 2416-2439) ซึ่งนับว่าเป็นเจ้าเมืององค์สุดท้ายที่มีอำนาจปกครองบ้านเมือง เพราะเป็นช่วงแรกของการดำเนินงานรัฐบาลกลางมีนโยบายไม่ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในทันที ยังคงใช้ดำรงตำแหน่งอย่างมีเกียรติ แต่ขณะเดียวกันก็พยายามลดอำนาจและผลประโยชน์ทีละน้อย รัฐบาลกลางได้ส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ ขึ้นมาจัดการปกครองในเมืองเชียงใหม่ ในลักษณะที่ร่วมกันปกครองกับเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลาน โดยที่ข้าหลวงพยายามแทรกอำนาจลงไปแทนที่ ส่วนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจซึ่งได้แก่รายได้จากการเก็บภาษีอากรส่วนหนึ่งต้องส่งกรุงเทพฯ นอกจากนั้น ป่าไม้ซึ่งแต่เดิมเป็นของเจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานได้ถูกโอนเป็นของรัฐใน พ.ศ. 2439 ซึ่งเป็นช่วงก่อนการพิราลัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และหลังจากสิ้นสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว รัฐบาลกลางให้เจ้าอุปราชรั้งเมืองอยู่หลายปี จนกระทั่งเห็นว่าให้ความร่วมมือกับรัฐบาลกลางดี จึงมีการแต่งตั้งให้เจ้าอุปราชเป็นเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 8 (พ.ศ. 2444-2452)
เมืองเชียงใหม่เติบโตอย่างมากหลังจากนโยบายเมืองหลัก ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2530 เป็นต้นมา
ลักษณะภูมิประเทศของภาคเหนือเป็นทิวเขาทอดยาวจากเหนือลงมาใต้ ทิวเขาที่สำคัญได้แก่ ทิวเขาถนนธงชัย เป็นทิว เขาที่ใหญ่และยาวที่สุดของภาคเหนือ มียอดเขาสูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศคือ ยอดเขาดอยอินทนนท์ อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ ทิวเขาแดนลาวกั้นเขตแดนไทยกับพม่า มียอดเขาสูงเป็นอันดับสองของประเทศคือ ยอดดอยผ้าห่มปก อยู่ในอำเภอแม่อาย และยอดดอยหลวงเชียงดาวสูงเป็นอันดับ 3 อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และยังมีทิวเขาขุนตาล ทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก ทิวเขานี้อยู่ระหว่างแม่น้ำ วังกับแม่น้ำยม ทิวเขาผีปันน้ำตะวันออก อยู่ระหว่างแม่น้ำยมกับแม่น้ำน่าน ทิวเขาหลวงพระบาง กั้นเขตแดนระหว่างไทย กับลาว ทิวเขาเหล่านี้ประกอบไปด้วยภูเขาใหญ่น้อยมากมาย เช่น ดอยอินทนนท์ ดอยขุนตาล ภูชี้ฟ้า ภูผาตั้ง และยังเป็นที่อยู่ อาศัยของชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ กะเหรี่ยง ม้ง มูเซอ เย้า อีก้อ และลีซอ ส่วนพื้นที่ราบบริเวณหุบเขาและแถบลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ลุ่มน้ำกก และน้ำอิง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การ เพาะปลูกข้าว และพืชไร่ รวมทั้งไม้ผลหลากหลายชนิด
ลักษณะนิสัยของชาวเหนือสังเกตได้จากภาษาพูด ซึ่งเป็นภาษาไทยท้องถิ่นที่มีความไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความ สุภาพอ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร งานหัตถกรรมมากมายที่สร้างสรรค์เป็นข้าวของเครื่องใช้ และของที่ระลึกที่ได้รับความนิยม จนกลายเป็นสินค้าส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศ เป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถบ่งบอกความ เป็นชาวไทยภาคเหนือได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : http://www.baanjomyut.com/76province/north/history.html

กลับหน้าแรก